เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันเทิงธรรม(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช)1



บันเทิงธรรม(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
________________________________________
บทความนี้หลวงพ่อได้เขียนก่อนที่จะบวชครับ
เห็นว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ครับ
โดยเฉพาะห้องนี้ก็น่าจะเป็นช่วง บทความที่
12. พระอภิญญา 13. เรื่องผีและเทวดา
18. ชาติก่อน มีจริงหรือ 19. ชาติหน้ามีจริงหรือ
ครับ



ผู้เขียนได้เขียนถึงแนวทางการปฏิบัติธรรมไว้แล้ว 2 ฉบับ. คือ
(1) แนวทางปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นการอธิบายวิธีการดูจิตตามแนวของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล). โดยแจกแจงลงในหลักสติปัฏฐาน 4. (อยู่ที่ www.geocities.com/Tokyo/Pagoda/3134). และ
(2) แนวทางปฏิบัติธรรม ซึ่งอธิบายถึง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ. (อยู่ที่ www.geocities.com/Athens/Delphi/6613). แนวทางปฏิบัติธรรมทั้ง 2 ฉบับนี้เน้นน้ำหนักที่ศาสตร์ของการปฏิบัติ. เพื่อให้ผู้สนใจทราบถึงหลักปฏิบัติที่สำคัญ จึงเป็นเสมือนแผนที่บอกทิศทางหลักของการเดินทาง.

แต่เมื่อผู้อ่านแผนที่ลงมือเดินทางจริงๆ. อาจจะพบอุปสรรคต่างๆ นานาอีกหลายประการ. ซึ่งแม้จะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย. แต่ก็อาจทำให้ผู้ปฏิบัติต้องเสียเวลาค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน. ผู้เขียนซึ่งเคยผ่านความผิดพลาดต่างๆ มามากแล้ว. จึงอาสาที่จะบอกเล่าประสบการณ์ถึงรายละเอียดของเส้นทาง. รวมทั้งจะเล่าถึงกลวิธีเอาตัวรอดจากอุปสรรคต่างๆ นั้นด้วย. เพื่อผู้ที่เดินมาข้างหลังจะได้รับความสะดวกในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น. ขอย้ำว่าที่ผู้เขียนอาสามาเขียนเรื่องนี้. ไม่ใช่เพราะผู้เขียนเก่งกล้าสามารถอะไร. แต่เป็นเพราะผู้เขียนหย่อนความรู้ความสามารถ. จึงปฏิบัติผิดพลาดเอาไว้หลายแง่หลายมุม. มากกว่าหมู่เพื่อนบางท่านซึ่งมีความฉลาดแหลมคม ปฏิบัติได้ราบรื่นไม่พบอุปสรรคใดๆ.
ผู้เขียนจะใช้ท่วงทำนองของการเล่าเรื่องเพื่อให้อ่านง่าย. ยิ่งกว่าการบรรยายอย่างมีศัพท์แสงเป็นวิชาการ. และไม่ได้เล่าตามลำดับเหตุการณ์เสมอไปเพื่อความสะดวกของผู้เขียนเอง. ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกับที่คนเฒ่าคนแก่เล่าเรื่องให้คนรุ่นหลังฟัง. คือนึกอะไรได้ ก็เล่าเรื่องนั้นก่อน.


1. พอเริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว



ผู้เขียนเริ่มปฏิบัติสมาธิภาวนาครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ. โดยคุณพ่อพาไปวัดอโศการามของท่านพ่อลี ธัมมธโร (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์). และได้หนังสือการฝึกอานาปานสติมาจากท่านพ่อลี. ก็นำมาอ่านแล้วปฏิบัติด้วยตนเองไปตามความเข้าใจแบบเด็กๆ. เอาจิตไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก. พยายามหัดอยู่ทุกวันเพราะผู้เขียนเป็นคนกลัวผี. และเชื่อว่าถ้าภาวนาเป็นจะหายกลัวผี. การที่จิตจดจ่อกับลมหายใจโดยไม่ได้คิดคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้นนั้น. เป็นหลักการสำคัญของสมถกรรมฐาน. ดังนั้นเพียงไม่นาน จิตก็รวมวูบลง ปราศจากกาย. แล้วจิตก็อันตรธานไปปรากฏขึ้นในเทวโลก. เมื่อเวลาจะเดินทางไปมา ก็เพียงนึก แล้วกายทิพย์ก็ลอยไปเหนือพื้น.


ผู้เขียนเที่ยวเล่นอยู่เช่นนี้ไม่นานวันนัก. ก็เกิดความเฉลียวใจว่า สมาธิไม่น่าจะมีประโยชน์เพียงแค่นี้. ทำไมเราจะต้องปล่อยให้จิตเคลิ้มแล้วมาเที่ยวอย่างนี้. นับจากนั้นก็กำหนดลมหายใจให้แรงขึ้น. เพื่อไม่ให้จิตตกภวังค์. จิตก็ไม่ออกเที่ยวภายนอกอีก.


2. กำหนดลมหายใจแบบแข็งกร้าว



การกำหนดลมหายใจแรงๆ แม้จะทำให้จิตไม่เคลิ้มตกภวังค์. แต่จิตก็ไม่สามารถพัฒนาให้ยิ่งกว่านั้น. กลับทำความเหน็ดเหนื่อยให้อย่างมาก. แต่ผู้เขียนก็มิได้ย่อท้อ ยังคงกำหนดลมหายใจแรงๆ เช่นนั้นเสมอมา. แม้จะเหนื่อยเพียงใด ก็ทนเอา. เนื่องจากไม่มีสติปัญญา มีแต่แรงกระตุ้นของอดีตให้ต้องปฏิบัติ. ปฏิบัติลำบากเช่นนี้อยู่ถึง 21 ปี. โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ไม่ว่าสมาธิหรือปัญญา. ทั้งนี้เพราะผู้เขียนไม่ทราบว่า ที่ปฏิบัตินั้นทำไปเพื่อสิ่งใด. และไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องด้วย.


ผู้ที่จะปฏิบัติธรรม จึงควรศึกษาถึงเป้าหมายของการปฏิบัติให้ชัดเจน. และเรียนรู้วิธีปฏิบัติให้เข้าใจเสียก่อน. อย่าได้ลำบากเหมือนผู้เขียนเลย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น