เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556
***ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีวันสำเร็จ***
คติธรรม คำสอน ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง จากพุทธศาสนิกชนทุกเทศทุกวัย ทั้งในและ ต่างประเทศ
แม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แต่ความทรงจำในกระแส เมตตา ปฎิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม พร้อมกับธัมโมวาทอันล้ำค่า ของหลวงปู่ ก็ยังส่อง สว่างอยุ่กลางใจของพวกเราชาวพุทธทุกผู้ทุกนาม
เมื่อ น้อมระลึกถึงหลวงปู่ที่ไร ความสุข สงบ ความโสมนัส ชื่นบาน ความสมหวัง โชคดี ความเป็นสิริมงคล จะดื่มด่ำอยู่ในจิตใจ อย่างไม่รู้อิ่มรู้คลาย
ผู้ ที่โชคด มีโอกาสกราบไหว้ องค์หลวงปู่ ได้เคยฟังการปรารภธรรม แสดงธรรม จากหลวงปู่ ต่างก็ประจัษ์ความไพเราะ นุ่มนวลละมุนละไม ประดุจเสียงทิพย์ที่ไพบูลย์ด้วยธรรมะ อันเป็นสากลสัจจะ ยังความอิ่มเอิบ เบิกบาน และเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นผู้สืบเนื้อนาบุญอันไพศาล นับเป็นพระอริยสาวก ที่ควรแก่กราบ ไหว้บูชาอย่างแท้จริง
ท่าน เจ้าคุณ พระวิบูลธรรมาภรณ์ แห่งวัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพๆ ศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่ง ได้รจนาถึงปฎิทาของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ดังนี้ :-
" หลวงปู่แหวนท่านมีศีลที่สมบูรณ์ คือเป็นพระสงฆ์ที่มีความปกติครบถ้วนไม่เกินหรือขาด สภาพของท่านเปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่มีต้นไม้ใหญ่เล็กนานาชนิด ทังยืนต้น และล้มลุก มี ดอก ใบ ผล สมบูรณ์ ตามสภาพของพันธ์นั้นๆ จะมีต่างอยู่ก็คือกลิ่นของดอกไม้ ในป่า หอมตามลม แต่กลิ่นศีลของหลวงปู่หวลตามลมและทวนลม และ ไม่นิยมกาลเวลา หอมอยู่เสมอ
หลวง ปู่มีจริยาวัตร คือความประพฤติที่เรียบร้อย งดงาม เต็มพร้อมด้วยสิกขา วินัย กฎระเบียบ การปฎิบัติของท่านเรียบง่าย ถูกต้องทั้งในสมาคมสาธารณะ และในที่รโหฐาน จะเป็นที่ชุมชนใหญ่ เล็ก ท่านทำตนเป็นกลางเสมอเหมือน ความประพฤติของท่าน เสมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีร่มเงามาก มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างให้คนเดินทางได้อาศัยร่มเงาพัก นกกาอาศัยเกาะกิ่ง มีกาฝากก็ขึ้นแซม บ้างบางครั้งบางคราว
หลวงปู่ท่านมีปฎิทา คือทางดำเนินสายกลางพอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร ชีวิตของท่านอยู่กับป่ามาโดยตลอด แม้ในวัยชรา หลวงปู่จะปรารภเสมอว่า ขณะนี้ป่าธรรมชาติจะหายไป แต่มีป่ามนุษย์เข้ามาเทนที่ โดยท่านให้คติว่า ต้นไม้ในป่าต่างต้นต่างเจริญเติบโต แสวงหาอาหารเลี้ยงต้น ใบ ดอก ผลของมัน เอง ไม่แก่งแย่งเบียดเบียนกัน แต่มนุษย์ก็มีทางดำเนินเลี้ยงชีวิตตรงกันข้ามกับต้นไม้ในป่า
หลวง ปู่ท่านมีเมตตาธรรมเป็นเลิศ มีสมาธิดี มีพลังจิตสูงเปี่ยมด้วยเมตตา ถ้าได้สนทนาธรรม กับท่าน สิ่งที่เป็นคำสอนอันสำคัญสำหรับชาวเราทั่วไป ก็คือ ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ความปราถนาดี แก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร จะสอนให้แผ่ให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มากจะทำให้จิตใจ สบาย รักชีวิต ทรัพทย์สินของคนอื่นเหมือนกับของตนเอง หลวงปู่ท่านสอนให้แผ่ความปราถนาดี ความสุขแก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะได้รับมากน้อยสุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น
สรุป ได้ว่า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฎิปทา คุณธรรม แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ ทั้งตามลมและทวนลม เกียรติคุณ บริสุทธิคุณ ปรากฎในชุมชน ทั่วไป
คุณแห่งศีล และเมตตาของท่าน เป็นเสมือนมนต์ขลัง ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ มีคนจำนวน มากเดินทางไปกราบขอศีลขอพร ขอบารมีธรรม และบางรายขอทุกอย่างที่ตนมีทุกข์ เพื่อจะให้ พ้นทุกข์
ทำให้เกิดศรัทธาสองทาง คือ คุณธรรม และวัตถุธรรม ผู้ใดต้องการธรรมะ ก็สดับตรับฟัง ศึกษาเอา ผู้ใดต้องการของขลัง รูปเหรียญวัตถุมงคลที่ระลึก ก็แสวงหาเอา ใครผู้ใีดปราถนาหรือ ศรัทธาอย่างใดก็ปฎิบัติอย่างนั้น ซึ่งก็คงสำเร็จประโยชน์ไม่มากก็น้อย "
ในสมัย ที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนจากใกล้ไกล ต่างแห่แหนไปกราบ หลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ ได้ปรารภถามว่า " พากันลำบากลำบนมากันทำไม"
คำตอบจากประชาชนเหล่านั้นก็คือ " ต้องการมากราบบารมีของหลวงปู่ "
หลวง ปู่ได้แนะนำว่า " บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตนมีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา ไม่ใช่แห่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้างต้อง ทำเอาเอง "
(จาก หนังสือเรื่อง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม -รศ.ภัทรา นิคมานนท์
มีนาคม ๒๕๔๘
***ให้ตั้งสัจจะ...หลวงปู่แหวน สุจิณโณ***
การ ปฏิบัติเราจะเดินก็ให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหวเราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริงๆ
กำหนด ตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัจจะว่าจะภาวนาเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนด ระวังรักษาจิตใจของเรา ให้แช่มชื่นเบิกบานไม่ปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม
อย่า ละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกัน จะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอน อย่างนี้ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละ ให้ผ่องใสตลอดไป
ให้ พยายามรักษาความดีความหมั่นความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง
เรา ต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจ
อาศัย ความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสีย ให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียรความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน
เรา ต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตนิ่งเฉยเกียจคร้าน
เรา ต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยการอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบ ในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร
ถ้า เราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือน ด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน
จิต ของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
ให้ ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียร ไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม
ถ้า เราไม่หมั่นหาอุบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส
ให้ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะ ตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิรยะ ความพากความเพียร ในภาวนาในคุณความดี
ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร
ให้ ตั้งความสัจจ์ความเพียรไว้ อย่าเป็นคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสั่งสอนเราให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้
ให้รักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษากาย รักษาใจ ของตน ในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน
จา โค ปฏินิสฺสคฺโค ให้ละเสีย ความถือตนถือตัว อันตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาก็เป็นปรกติอยู่ใจก็เป็นปรกติอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส กามคุณทั้ง ๕ เขาก็เกิดมีอยู่อย่างนั้นละ เราเกิดมา นินทา สรรเสริญ โคตร ผีบ้า ผีบอ เขาก็ว่ากันอยู่อย่างนั้นละ ที่รับเข้ามามันหนักแน่นอยู่ในหัวใจ ปล่อยให้เขาป่นไปป่นมา ใจปรกติอยู่แล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นปรกติอยู่แล้ว จะไปเดือดร้อนทําไมเล่า ไปหอบเอาของเขามาสิมันเดือดร้อน ของเราก็มีเต็มขี้ปุ๋ม (พุง) อยู่แล้ว บาปเราก็มี บุญเราก็มี นินทา สรรเสริญ โคตรพ่อโคตรแม่ ของเรามีเยอะ แต่เราไม่พูด โยนทิ้งหมด ก็สบายดีละก้า ไปหอบเอาของเขา ขี้โลภมากมันถึงเดือดร้อน ลูกก็ตาม หลานก็ตาม ลูกมันพ้นระหว่างขาของเราแล้วโล้ ไปหอบมันสังมันเป็นทุกข์ มันรู้ได้เสียก็พอละ รีบตั้งอกตั้งใจ ทําอาชีพอันใด ๆ ก็ดี ให้ตั้งใจ อย่าไปขี้เกียจขี้คร้านก็พอละ ว่ากล่าวด้วยวาจาของตน ช่วยสงเคราะห์อุปการะสังคโห ช่วยสงเคราะห์ก็พอแล้ว อันเขาใหญ่ขึ้นมาแล้ว รู้ผิด รู้ถูก รู้ได้ รู้ดี รู้มั่ง รู้มี ไปหวัน...มันก็เป็นทุกข์ละก้า ทําอันใดไม่พออกพอใจ แล้วก็ไปเดือดเขา บ่รู้พอหลงก็หลงมาพอแล้ว โลภก็โลภมาพอแล้ว รักก็รักมาพอแล้ว ชังก็ชังมาพอแล้ว เอ้า!! หยุด...พอแล้ว
ตัว สัญญา ตัวกิเลส มันตั้งขึ้นเสียก่อน ตัวกิเลสนั้นนะ ไปทักมันสัก ๓ ครั้ง มันก็ไม่หยุด อย่างพวกนอนในใบบัวกา ไต่หลังน้ำ...กา หมู่นี้มันเป็นเครื่องเล่นนับเข้าบารมี ๑๐ นี่ละ ขันติตัวอดมันได้ปีติ ได้กสิณฌาน กํามือจนเล็บมือผด (ทะลุ) หลังมือไม่รู้ตัว อันนั้นก็ยังไม่มีใครแก้ได้นา ไม่ยอมใครทีเดียว แต่ไม่ใช่ถึง เป็นแค่ฌานโลกีย์ทั้ง ๕ ปีติอันนี้ แต่อาจเป็นอยู่ในกามโลกอันนี้ บางคนก็ขี้หินป่งหู้ม (งอกปิด) รอบ ๆ ตัว บางคนก็ไปนั่งริมเก๊าไม้ (ต้นไม้) ป่งหุ้ม ได้สองหมื่นปีก็มี สามหมื่นปีก็มี เวลาจะอกก็กสิณนั้นละ เพิ่งกสิณให้แตกกระจาย พวกนี้ครั้งตายจากกามโลก ก็ไปพรหมโลก ไปดูเขาแล้วพวกนี้ เขาเป็นนักผนึกบารมีหนา ทานบารมี ทานภายนอก ทานภายใจ เขาก็ละได้ภายใจตัวอกุศล ตัวอกุศลาธัมมา นี้ละ เมาหลง เมาโกรธ เมาราคะ กิเลสตัณหานี่ละ มันเป็นกก เป็นเค้าเป็นเหง้า เป็นงูน กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไปจากนี้ละ เขาละได้จริง ๆ หนาเขาอดได้แต่ไปแก้ไม่ไหวหรอก อันที่ปีติตัวนี้ แต่ถอนได้เหมือนกันนั้นละ เวลาตายจากกามโลกนี้ ก็ไปพรหมโลก พวกนี้ไม่ตกต่ำ แต่ได้กลับมาเกิดอยู่ แต่พวกเพ่งพวกนั้น ยังสําคัญว่าตนได้สําเร็จพนะนิพพานหนา... แต่มันไม่เป็นปัญญาวิมุตติ โลกุตรวิมุตติ ต้องแก้ไขอยู่เรื่อง จนกิเลสอาสวักขยญาณไปรู้กิเลสของตน กิเลสของกาย สิ้นไปหมด กิเลสของใจ เรามีกามฉันท์งอกขึ้น ดับไปแล้ว ก๋าลังศรัทธา ก๋าลังความเพียร ก๋าลังสติ ก๋าลังสมาธิ ก๋าลังโลกุตรปัญญา วิมุตติผู้แจ้งชัชวาล ตลอดจนถึงขันธปรินิพพาน ไตรวัฏมีเท่านี้แล้ว
นวํ นตฺถิ เราไมjยินดี จะก่อภพใหม่ต่อไปอีกแล้ว มันก็หมดเรื่องกันเท่านั้นละก้า... มิเข้าไปนอนในท้องแม่นอนกินน้ำกาม เกิดแก่เจ็บตายไม่มีแก่เราต่อไป มันหมดสิ้นละทีนี้ ถ้าไม่หมดมันก็หมุนอยู่นั้นละ ค้นอยู่ในนี้ละ อย่าไปละ ท่านไม่ให้ประมาทก้อนธัมเมา อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ก็อันนี้แล้ว ทุกข์มันก็เกิดนี่ละสมมติอันใดทุกข์ก็อันนั้นละ มรรคสัจอันในนิโรธธรรม เป็นธรรมอันดับทุกข์ก็อันนั้นละ... ค้นอยู่ในนี้แหละครั้งไปค้นที่อื่น เดี๋ยวก็ไปติดแผนที่ จําแผนที่ได้อันนั้นเป็นอย่างนั้น ๆ สติปัฏฐาน ๔ ไปรู้แต่แผนที่... ตัวธรรมแท้ๆ ไม่รู้ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานไปรู้แต่แผนที่เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็รู้แต่แผนที่ แล้วก็ไปติดแผนที่นั่นละ มันใช้ไม่ได้ละ... มันต้องวางแผนที่
อุ โปปทานํ อุปโก สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโข เผาลงที่เดียวนั้น ให้มันแจ้งในที่เดียว แล้วมันจึงเป็นสุข ไปคุม (จับ) แต่แผนที่นั้นแล้วมันก็ไม่ทันการณ์ แผนที่อันหนึ่ง ภูมิประเทศอันหนึ่ง อย่างเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านว่าแต่ก่อนแปลเต็มที่นา แผนที่นี่ใช้วิภัตติปัจจัยได้ดี... ครั้งไปปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมาแล้ว โอ๊ย!!! มันน่ารักงไกลกันตั้งหลายโยชน์ อันนั้นมันแผนที่ต่างหาก แผนที่ปริยัติธรรม... ให้น้อมเข้ามาที่ก้อนธัมเมานี่ละ ก้อนพระธรรมแต่เมานี่ ตัวนี่ละค้นเข้า ๆ จนแจ้ง ครั้งแจ้งแล้วก็รู้หมดละหมู่นั้น ครั้งมันแล่นอยู่ก็ของเก่า มันเป็นธัมเมาอยู่นั้นละ พุทโธธัมเมา สังโฆธัมเมา อกุศลาธัมเมา เมาหลง เมาโกรธ เมาราคะ กิเลสตัณหา มันต้องละ พวกที้ละก้า... จะไปละที่ไหน ? ค้นอยู่นั้นละ ตัวทุกข์ มันก็เกิดนั้น ถือตัวถือตนมันก็ถืออยู่นั่น ก้อนธัมเมานี่ละ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ สอนถึงแต่หนัง เนื้อหนังหุ้มห่ออยู่เป็นที่สุดรอบ ไม่รู้ดี รู้ชั่ว มันปิดบังหมด เป็นอวิชชาใหญ่โต อวิชามันตัวมืด... เอามันจนรู้แจ้งโล่ อรหํ มันก็หยุดละ... ไม่หยุดก็เป็นธัมเมาอยู่นั้นละ อวิชชาธัมเมา อตีตาธัมเมา อดีตก็เป็นธัมเมามาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์
นับ อสงไขยไม่ได้ นับล้านอสงไขยไม่ถ้วน เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด มาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์ มาตั้งแต่อดีต อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา มันเรื่องของสังขาร รู้เท่าสังขาร รู้เท่าสมมติ วางสังขารหมด วางสมมติหมด ก็โลกวิทูรู้แจ้งโลก รู้แจ้งโลกแล้ว ก็รู้แจ้งธรรม ฉะนั้น ไม่ให้ประมาท ให้ค้นอยู่ในก้อนธัมเมาอันนี้ละ พระธัมเมาก็ว่ามันเมาอยู่กับรูปนี้ ไม่เมารูปนี้ก็รูปอื่นมีทั่วไป ครั้งค้นนี้ให้แจ้ง แล้วก็หลุดออก แล้วมันก็สบาย วางขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เอาละอย่าไปเอามาก มันเป็นธัมเม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น