เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พุทธธรรมนำทาง สร้างวินัย พัฒนาจิต







พุทธธรรมนำทาง สร้างวินัย พัฒนาจิต

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จนกระทั่งทำให้วิถีชีวิตของชาวไทยต้องเปลี่ยนตามไปอย่างฉุกละหุก มีบุคคลแค่บางกลุ่มจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่สามารถปรับตัวตามไปได้ดี แต่ส่วนใหญ่แล้ว สามารถปรับตัวได้อย่างผิวเผิน ทำให้เกิดความเจ็บป่วย หรือความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจมาก


ทั้งที่เทคโนโลยี่ใหม่ๆมากมายควรจะเป็นส่วนรองรับความต้องการของสังคมและสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น กลับกลายไปว่าเทคโนโลยี่ใหม่ๆได้มาพร้อมกับการทำลายวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม
รวมถึงการทำลายสุขภาพกาย สุขภาพจิตของคนในชาติลงอย่างสิ้นเชิง พราะวินัย หรือวิถีชีวิตของพลเมืองที่เคยมีถูกเปลี่ยนแปลงไปทั่ว
จากการยึดมั่นในความดี ประนีประนอมและมีเหตุผล กลายเป็นการแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่ใส่ใจสภาพร่างกายและจิตใจของตนและผู้อื่น ยิ่งรวมไปถึงการขาดความใส่ใจถึงความสูญเสียความมั่นคงของสังคม อันมีผลถึงประเทศชาติส่วนรวมโดยตรงในที่สุด

จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการปรับปรุงสังคมอย่างรีบด่วน ด้วยพุทธธรรมอันเป็นสมบัติที่เก่าแก่และมีค่ายิ่งของชาวไทยและมวลมนุษย์ชาติ หากแต่ได้ถูกปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง ด้วยความหลงผิด จนกระทั่งความสัมพันธ์ของพุทธธรรมได้ห่างเหินไปจากสังคม อันเป็นเหตุให้มีผลคือ ผู้คนป่วยกายป่วยใจเป็นจำนวนมากในสังคมที่พิกลพิการนี้
พุทธธรรม ความหมาย

ธรรม หมายถีง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง;
เหตุ, ต้นเหตุ;
สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด;
คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ;
หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่;
ความชอบ, ความยุติธรรม;
พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า
“หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่”

หลักธรรมในพุทธศาสนา
คือ หลักความเป็นไปของโลก พระพุทธศาสนาเน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ไม่มุ่งเน้นความสบาย
พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งเน้นในส่วนที่โลกกำลังดำเนินอยู่ เกี่ยวพัน เกี่ยวข้องกับระบบทั้งมวล
เราอยู่ในจักรวาล ก็ย่อมดำเนินตามระบบของจักรวาล เราอยู่ในโลกก็ย่อมดำเนินตามระบบของโลก ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือระบบ ทุกอย่างพัวพันกับระบบ
พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักระบบ และอยู่บนระบบได้อย่างเป็นสุข รู้ทันระบบ ดำเนินอยู่ในระบบได้อย่างเป็นสุข ไม่ระแวงกับระบบ แต่สามารถอยู่ในขณะที่ระบบกำลังกลั่นแกล้งเราได้
อยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างเป็นสุข รู้ทางพ้นจากทุกข์ หรือพ้นจากระบบได้ในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม นี่คือ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่แท้จริง
ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาจะพบคำว่า ธรรมและวินัย ควบกันไปเช่นพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า [1]
อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา
****คำว่า ธรรม พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ[2]
1. ธรรมชาติ
2. กฎของธรรมชาติ
3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
****คำว่า ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ
“สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์


พุทธธรรม หรือ พระธรรม หมายถึง ธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ พุทธธรรม ของพระพุทธเจ้านั้น แต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นตัวอักษร คัมภีร์ที่บันทึกพุทธธรรมนั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และมีคำอธิบายจัดไว้เป็นหมวดคัมภีร์ เรียกชื่อต่างๆ อาทิ อรรถกถา, ฎีกา, อนุฎีกา เป็นต้น
ธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น คำว่า ค้นพบ ย่อมหมายถึง ธรรม เป็นสิ่งที่มีอยู่เดิม มีมาก่อน ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ อาจพอกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ ธรรม ก็คือการรับรู้ธรรมดาโลก เรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร และไปอย่างไร

พัฒนาจิต


วิธีเจริญจิตภาวนา
จากหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม
บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์
ขวา ค้นศัพท์
ผู้เขียน(Webmaster)ขอกราบอาราธนาคำสอนเรื่อง "วิธีเจริญจิตภาวนา" ของพระอริยเจ้า หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่บันทึกไว้ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕) มาบันทึกไว้ ณ.ที่นี้ โดยครบถ้วนตามต้นฉบับเดิม [แต่มีการเพิ่มเติมขยายความคำอธิบายของผู้เขียนโดยใช้อักษรสีนํ้าเงิน] และ เน้นข้อความของท่านที่เห็นความสำคัญโดยสีม่วง นอกนั้นผู้เขียนได้คงไว้ตามต้นฉบับเดิมอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ [สำหรับท่านที่ต้องการอ่านข้อความของท่านหลวงปู่ล้วนๆโดยไม่มีคำอธิบายของ Webmaster สอดแทรก Linkได้ที่นี่]
นักปฏิบัติที่มีความเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท หรือ ขันธ์๕ โดยเฉพาะผู้ที่เห็น จิต(จิตสังขารหรืออาการของจิต เช่น ความคิด, ราคะ, โทสะ, โมหะ จิตปรุงแต่ง จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ ฯลฯ - หาอ่านรายละเอียดได้ในบทสติปัฏฐาน๔ หรือเห็น เวทนา) ในขณะใดๆบ้างแล้ว(จิตตานุปัสสนาและเวทนานุปัสสนา) เช่น เห็นจิตหรือเวทนาขณะที่เกิดขึ้นบ้าง หรือขณะเสื่อม(แปรปรวน)บ้าง หรือขณะดับไปอย่างไม่มีแก่นแกนบ้าง ก็จะเข้าใจได้ง่าย และขอให้โยนิโสมนสิการในความเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ) หรือปรมัตถสัจจะที่เมื่อธรรมารมณ์หรือความคิดที่กระทบกับจิตแล้ว ย่อมเกิดผลขึ้นเป็นธรรมดา ประดุจเดียวกับการที่สิ่งต่างๆกระทบกับกาย (โผฏฐัพพะ-กายผัสสะกับสิ่งต่างๆ) ก็จะยังประโยชน์แก่นักปฏิบัติอย่างสูง
พนมพร



วิธีเจริญจิตภาวนา ตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
๑. เริ่มต้นอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก [ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบการปฏิบัติสมถสมาธิ ทำในขณะจิตตื่นปกติในวิถีชีวิตประจำวันได้ ในช่วงว่างๆ ใจสงบ สบาย แค่ไม่ซัดส่ายส่งออกไปปรุงแต่งในเรื่องต่างๆนาๆ หรือถ้าต้องการใช้สมาธิก็ใช้ระดับขณิกสมาธิก็พอเพียงแล้ว การใช้สมาธิที่ลึกละเอียดมักจะทำให้เกิดภวังค์และนิมิต เลื่อนไหลไปท่องเที่ยวอยู่ในจิตภายในอันเป็นปฏิปักษ์กับการเจริญวิปัสสนานี้]
ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว
[มีสติแค่รู้อยู่อย่างสบายๆ แต่ก็ไม่คิด,ไม่คิดนึกปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น ใหม่ๆก็ยากหน่อยเป็นธรรมดา เพราะธรรมชาติของจิตปุถุชนโดยทั่วไป ย่อมมักจะส่งส่ายออกไปคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ หรือปรุงแต่งตามสิ่งที่มาผัสสะผ่านทางอายตนะภายใน อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ]
รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม



[คือ อย่าปล่อยให้เลื่อนไหลไปตามความคิดนึกปรุงแต่ง หรือการเลื่อนไหลไปตามกำลังอำนาจสมาธิที่ลึกเกินไป เช่น ภาพนิมิต หรือนามนิมิตเช่นความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ ที่ผุดขึ้นขณะอยู่ในสมาธิที่ลึกเกินไป และระวังอาการจิตที่เรียกว่าจิตส่งใน]
เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ [แส่ไปตามความคิด,คิดนึกปรุงแต่งต่างๆ หรือการสอดแส่ไปใน อารมณ์ อันหมายถึงในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จากภายนอกต่างๆที่มากระทบได้] โดยไม่มีทางรู้ทันก่อนเป็นธรรมดา [จึงหมายถึงต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ถูกต้องไม่ต้องกังวล และจะเกิดอย่างนี้เป็นประจำเสมอๆ แต่อย่าท้อแท้เพราะเป็นเช่นนี้เป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง]สำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง [ทำดังนี้ให้เชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง] เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่[มีสติ] และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ [จิตที่สอดแส่ไปคิด,คิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ หรือปรุงไปใน รูป เสียง ฯ.ที่กระทบ] ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ [คือสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่าง จิตมีความรู้ตัวอยู่กับที่คือมีสติ กับ จิตขณะปรุงแต่งย่อมเกิดการผัสสะจึงย่อมเกิดเวทนาต่างๆเป็นสุขเป็นทุกข์ขึ้นเป็นธรรมดา จึงย่อมเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน อันจะยังให้เกิดปัญญาหรือญาณอันสำคัญยิ่ง จากการได้เห็นได้หยั่งรู้ได้ด้วยตัวตนเอง-ปัจจัตตัง]
จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป [มีสติ รักษาสติอย่าให้เลื่อนไหลไปสู่สมาธิหรือฌานที่ลึกละเอียดประณีต เพราะ ณ ขณะนี้เป็นการฝึกสติให้เห็นจิต อย่างต่อเนื่อง มิใช่การมุ่งเน้นทำสมถสมาธิ แต่เป็นการมุ่งเน้นวิปัสสนา] ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ

จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก [เป็นธรรมดาโดยธรรมชาติของจิต อีกเช่นเดิม เพราะย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆทีเดียวเป็นธรรมดา จึงไม่ต้องท้อแท้หรือหงุดหงิดเมื่อเกิดขึ้น แต่เมื่อจิตปรุงแต่ง]จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป [ขณะที่จิตอิ่มตัว แล้วกลับมารู้ตัวหรือมีสตินั้น ต้องอุเบกขา คือไม่เอนเอียงไปแทรกแซงด้วยถ้อยคิดกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นอีกด้วย]
ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิ [เป็นสัมมาสมาธิ เพื่อการวิปัสสนา ที่ไม่ได้มุ่งหวังในความสงบสุขสบายแต่อย่างใด] ในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" [กริยา อาการ และการกระทำของจิต] โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร [อันจะสั่งสมจนเกิดเป็น สังขาร อันมิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เป็น สังขารที่เกิดแต่วิชชาที่จะนำพาให้พ้นทุกข์อย่างถาวรต่อไป]
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป [เพราะการปฏิบัติขณะจิตฟุ้งด้วยกำลังแรงกล้า ก็จะไม่บังเกิดผลเพราะใจที่ซัดส่ายและเพราะขาดความชำนาญ หรือขาดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในขั้นต้น ดังนั้นเมื่อไม่เห็นผลได้ด้วยตนเองก็ย่อมเกิดความท้อแท้ หรือวิจิกิจฉาว่าไม่ถูกต้อง อันย่อมบั่นทอนความเชื่อความเข้าใจไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติครั้งต่อๆไป]
[ผู้ที่เห็นจิต - จิตสังขาร - สังขารขันธ์อันคือความคิดความนึก และเวทนา ได้แล้วและค่อนข้างสมํ่าเสมอจากความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์๕ อาจข้ามไปที่ข้อ ๒ เลย]




ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ [เนื่องจากไม่เคยปฏิบัติในแนววิปัสสนาให้เห็นจิต หรือความคิดความนึก หรือเพราะยังไม่มีสัมมาสมาธิอย่างถูกต้อง] ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต
พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง [เป็นอุบายวิธีเพื่อหาที่ให้จิตรวมเป็นหนึ่ง เป็นสัมมาสมาธินั่นเอง]
ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว
เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึก(ความคิดนึก)ชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้
ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที
เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" [ข้อกำหนด ข้อบังคับ ตั้งเจตนาเพื่อให้มีความตั้งใจอันแน่วแน่]


การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป
แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ
เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย [แต่ก็ต้องนุ่มนวล ไม่ตึงเครียดจนเกิดอาการต่างๆ]
เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย
เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ [เช่น การคิดนึกปรุงแต่ง,รูป,เสียง ฯ.] ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็วถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ



[คำบริกรรม พุทโธ ก็คือ จิตสังขารหรือสังขาร(สิ่งปรุงแต่ง)อันเกิดแต่จิต หรือความคิดอย่างหนึ่ง ดังนั้นการบริกรรมภาวนาอย่างมีสติ ไม่เลื่อนไหลไปคิดปรุงหรือเลื่อนไหลลงภวังค์ จึงเท่ากับเป็นการฝึกจิตหรือสติโดยตรง ให้เห็นจิต หรือจิตตสังขาร หรืออาการของจิตบางประการ-เจตสิก]
บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้ แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง(จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)


[จิตปรุงกิเลส คืออาการที่จิตส่งออกไปคิดนึกปรุงแต่งจนเกิดกิเลสขึ้น , ส่วนกิเลสปรุงจิต เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายนอก กระทบผัสสะกับ อายตนะภายใน แล้วเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสขึ้น หรือถ้าพิจารณาจากปฏิจจสมุปบาท จิตปรุงกิเลส ก็คือองค์ธรรมสังขารอันเกิดแต่อวิชชา ส่วนกิเลสปรุงจิต ก็คืออาการที่เกิดขึ้นจากสฬายตนะ กระทบผัสสะกับ อายตนะภายนอกนั่นเอง ดูรูปประกอบในการพิจารณา ]
ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
[อารมณ์ในที่นี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็น จิตสังขารประเภทอาการของจิต(เจตสิก) หรือสังขารขันธ์นั่นเอง และควรรวมเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นไว้ด้วย เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา มีอามิส หรือไม่มีอามิสเป็นต้น เพราะสังขารบางอย่างนั้นสามารถเห็นเวทนาได้ชัดและรวดเร็วกว่าความคิดปรุงแต่ง เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้เพราะทั้ง๒ที่เห็นได้นี้ต่างล้วนถูกต้องดีงาม]





๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก [ความคิดนึกที่ส่งออกไปปรุงแต่งอารมณ์อันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ จากภายนอกกาย] เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลาย อย่าได้ใส่ใจกับมัน) [เพราะในบางครั้งอาจเกิดรูปนิมิตหรือภาพผุดขึ้นในใจบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าเป็นนามนิมิตอันคือคำบริกรรมหรือความคิดความนึกที่เกิดขึ้นที่ผุดขึ้นก็อย่าใส่ใจ ให้ละกลับไปอยู่ที่สติหรือฐานกำหนดเดิม]
ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก [ออกไปความคิดนึกปรุงแต่ง] สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

วัตถุประสงค์ ส่งเสริมความแข็งแรงทางสุขภาพกายและสุขภาพจิตควบคู่กันไป ของชุมชน อันเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยการทางมนุษย์ของชาติ เพื่อความเข้มแข็งของสังคม และเป็นการลดภาระ ค่าใช้จ่ายอันมหาศาลของรัฐในการเยียวยาผู้ป่วย

****จำนวนบุคลากรการแพทย์และพยาบาลทางสาธารณสุขยังมีอัตราที่ขาดอยู่เป็นสัดส่วนจำนวนมาก ไม่เพียงพอต่ออัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทุกครอบครัวทั้งประเทศ


ขั้นตอนและวิธีการ
เริ่มต้นจากการรับการอบรม และนำไปปฏิบัติทดลองใช้พัฒนาตนของบุคคลากรองค์กรในส่วนชุมชนเข้มแข็ง บวรสอ.เป็นแห่งแรกเพื่อกระจาย ขยายองค์ความรู้ ไปสู่ทุกครอบครัวในประเทศ โดยมีองค์กรสาธารณสุขตำบลหรือโรงพยาบาลตำบลเป็นผู้ประสานงานและช่วยเหลือ
*****บวรสอ. ประกอบด้วย

1.อาสาสมัครหมู่บ้าน
2.อาสาสมัครวัด
3.อาสาสมัครโรงเรียน
4.อาสาสมัครสาธารณสุข
5.อาสาสมัครองค์การบริหารส่วนตำบล อ.บ.ต.



พุทธธรรมนำทางสร้างชีวิต.......

"พุทธธรรมนำทางสร้างชีวิต" ไม่พลาดผิดเป็นทางที่สร้างสรรค์

"พุทธธรรมนำทาง"สว่างพลัน ออกเดินกันทันทีไม่รีรอ.....

"พุทธธรรมนำชีวิต"คิด-พูด-ทำ ช่วยน้อมนำเหมือนดวงแก้วเพริศแพร้วหนอ

"พระไตรรัตน์นำหน้า"ก็ว่าพอ จากนั้นก็เร่งปฏิบัติพัฒนา

คือ"พัฒนาทางจิต"ชีวิตตน ให้เกิดผลสมหวังเป็นฝั่งฝา

"เกิดเป็นคนต้องเร่งรัดพัฒนา" หากเกิดมาใช้กรรมไม่ทำอะไร

ก็เหมือน"เสียชาติเกิด"กำเนิดมา ควรตายเสียดีกว่าแล้วเกิดใหม่

"เดินถอยหลังลงคลอง"ไม่ต้องใจ เป็นคนไทยมีปัญญาน่านิยม

"คิด-พูด-ทำแต่กรรมดีชั่วชีวิต" กรรมลิขิตจักอำนวยให้สวยสม

อยากได้ดีมีปัญญาใบหน้าคม รูปสวยสมเป็นเศรษฐีมีเงินทอง

หวังมรรค-ผล-นิพพานใช่งานยาก ฝ่าหนามขวากต้องอดทนอย่าหม่นหมอง

"ใช่โรยด้วยกุหลาบ"ทาทาบทอง ทางนี้ต้องมั่นคง"ลงมือทำ-!!"

-ด้วยตนเอง"เท่านั้นประกันผล ตนของตนทำแล้วสมว่าคมขำ

"กัลยาณมิตร"ควรมีไว้ชี้นำ "พุทธธรรมนี้คือเพื่อน"ไม่เชือนแช

จะตามส่งพี่น้องตามต้องการ ถึงนิพพานให้เห็นงามตามกระแส

พากันไป"ไม่ต้องเกิด"ประเสริฐแล อีกพ่อแม่ไม่ต้องถามตามเรามาฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น