เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ
เศรษฐกิจพอเพียง > สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต4
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ
คุณรู้จักการใช้ EM แล้วหรือยัง
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ จากการที่ คุณอภิชาติ ดิลกโสภณ ได้ “เก็บเอามาเล่า” นั้น ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการ ตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น การรู้จักวิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี จะนำมา ซึ่งสภาพชีวิตที่ดี สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน
ทุก วันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งมีความ สำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ กันแล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็น “ดินมีชีวิต” อีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยงมนุษยชาติต่อไป
การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย ขณะนี้มีอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่ พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปอัลจินัว ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีใช้เวลา ต้นทุน และกรรมวิธีแตกต่างกันไป
ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้เกษตรกร และผู้สนใจนำไป ใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลาย สถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
1. ปุ๋ยชีวภาพ อีเอ็ม (EM) คืออะไร
EMย่อมาจาก Efective Microorganisms หมาย ถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของ โลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลัง ขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มี ประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้ หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้ เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
ปุ๋ยชีวภาพ ลักษณะทั่วไปของEM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็น เกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่า เชื้อต่างๆ ได้
• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
• EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
ปุ๋ยชีวภาพ การดูแลเก็บรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกตพิเศษ
• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟอง ขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
2. การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ
ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มี พิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่ง เน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International
Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซี่เป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%
สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็น อันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้
1. ใช้กับพืชทุกชนิด
2. ใช้กับการปศุสัตว์
3. ใช้กับการประมง
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้
3. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM มีประโยชน์อย่างไร
การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ
วิธีใช้และประโยชน์ EM สด
1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช
• ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม
• พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน
• ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้ จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป
2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่น
• (ดูรายละเอียดในการทำ )
3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง
• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น
• หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• ใส่ห้องน้ำ – ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม
• กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน
• บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร
• ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร
(ดูรายละเอียดในการทำ)
• แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง
• ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน
• กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ
- ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม.
- กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน
- ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร
ปุ๋ยชีวภาพ วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย
1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด
2. ใช้กับสัตว์
• ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
• ผสมน้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
• ผสมน้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์
3. ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง เหมือนใช้ EM สด
• (ดูรายละเอียดในการทำ)
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด
ประโยชน์ของจุลินทรีย์แห้ง
1. ใช้กับพืช
• รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง
• คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้
• ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป
รดพืช ผัก
2. ใช้กับการประมง
• เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ
• เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
• ผสมอาหารสัตว์
3. ใช้กับปศุสัตว์
• ผสมอาหารให้สัตว์กิน
4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม
• เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย
• เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย
• ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ
• ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
4. วิธีการผลิต EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช
4.1 EM ขยาย
คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการ ใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้
ส่วนผสม 1. EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้ แตกได้)
• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด
• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วัน
วิธีใช้ • นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก
วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ )
- น้ำ อ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้น สดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่
ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ ¼ แก้ว
- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปัสสาวะ ½ แก้ว
4.2 จุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)
ส่วนผสม 1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน
2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน
วิธีทำ
• นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
• ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน
วิธีใช้
• ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบานทน
• ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผล โต
• วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืชปกติ
• ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
ปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ)
การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรีย วัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่ สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม 1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1
กระสอบ
2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน
หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ • คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
• นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา
คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว
และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่ อากาศถ่ายเทได้ ¾ ของกระสอบ ไม่
ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน
อุณหภูมิประมาณ 50 องศา – 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู
จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้
• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟาง
แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้
อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น