เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ปีมะโรง ขอจงมีความสุข
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
ปีกระต่ายก็ผ่านไป ปีมะโรง ปีพญานาคก็มาถึง
พญานาคเป็นปีแห่งโภคทรัพย์และผู้ทรงศีล
พระโพธิสัตว์ขณะบำเพ็ญปรมัตถบารมี
ในพระชาติสุดท้าย 10 ชาติ
ก็ได้เกิดเป็นพญานาคเพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
เพื่อให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์ และความเป็นมนุษย์
ผู้รักษาศีลเป็นนิจย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์
มนุษย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
ผู้รักษาศีลย่อมมีความสุข
ขอเชิญมารักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนากันเถิด
ผู้ทรงศีลย่อมเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
ย่อมไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ทั้งสัตว์น้อยใหญ่
ย่อมเป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของที่ไม่ใช่ของเรา
ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
ย่อมไม่ประพฤติผิดลูกและสามีภรรยาของผู้อื่น
ไม่นอกใจสามีภรรยา
ย่อมเป็นผู้ที่มีวาจาไพเราะ ช่างเจรจา
มีสัมมาวาจา ปิยะวาจา พูดแต่สิ่งที่ดี
มีประโยชน์ ไม่พูดเท็จ
ย่อมไม่เสพสุรายาเมา
ไม่ติดยาเสพติด ไม่ค้ายาเสพติด
ผู้ทรงศีลเป็นคนดี มีเมตตา มีจิตใจที่นุ่มนวล อ่อนโยน
ย่อมเป็นผู้ที่มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม
มีความสุข และมีพระนิพพานเป็นที่สุด
ขอเชิญพวกเรามารักษาศีล เจริญภาวนากันเถิด
เพื่อเราจะได้มีความสุขในทุกสถานการณ์
(มีต่อ 1)
_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
TU
บัวทอง
เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1577
ตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2004, 6:13 pm
หันมาสำรวจตัวเองกันบ้าง
ปัญหาในสังคมทุกวันนี้
เพราะเราไม่ค่อยเอาใจใส่ ในการรักษาจิตใจของตัวเอง
เราไม่เคยสำรวจตัวเอง
เราคิดว่าเราดีแต่คนอื่นไม่ดีตลอด
เพราะเราดูแต่คนอื่น ไม่เคยดูตัวเอง
เรามัวแต่จ้องจับผิดคนอื่น
จึงทำให้จิตใจของเราฟุ้งซ่าน สับสน เครียด ทุกข์
เรามัวแต่อยากพัฒนาคนอื่น ลืมตัวเอง
การปฏิบัติภาวนารักษาศีล คือ การหยุด
หยุดดูผู้อื่น หยุดตำหนิผู้อื่น
หันมาสำรวจตัวเองบ้างเป็นครั้งคราว
การทำความดีก็คือ การให้ทาน การรักษาศีล และปฏิบัติภาวนา
อันนี้ก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย
อันเป็นที่ปรารถนาของทุกคน
คือฐานะดี รูปดี ปัญญาดี อายุยืน มีความสุข
การเจริญทาน ศีล ภาวนา
เมื่อทำแล้ว เราได้รับอานิสงส์ทันทีในปัจจุบันชาตินี้
ไม่ต้องรอภพหน้า
ปฏิบัติวันนี้ ก็เริ่มได้ผลวันนี้ อนาคตในชาตินี้ก็ดี
เมื่อตายแล้ว ชาติหน้าก็ได้รับอานิสงส์อีก
เมื่อเราเริ่มลงมือปฏิบัติบ้าง
เราจะเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น คือ เห็นตัวเอง รู้จักตัวเอง
แล้วเราจะปีติ ดีใจมาก..... ทุกคน
เพราะมันเป็นอีกมิติหนึ่งของจิตใจของเรา
ที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ว่ามีอยู่
แล้วเราจะมีความสุขมาก
การศึกษาธรรมะ ยิ่งศึกษา ยิ่งสงบ
เป็นโอปนยิโก ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งเป็นโอปนยิโก
น้อมเข้ามาๆ เพื่อการปล่อยวาง ปล่อยวางสิ่งภายนอก
แล้วก็น้อมเข้ามาในธรรมะ น้อมเข้ามาดูกายกับใจของตัวเอง
ดูตัวเอง แก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง
มากกว่าที่จะไปดู ไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น
คนอื่นเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจของเราเป็นอย่างไร
เราหมั่นน้อมเข้ามาดูจิตใจของเรา
รักษาจิตใจของเราให้เป็นปกติเสมอ คือ เป็นศีล
ศีล คือ ปกติ คือไม่ยินดียินร้าย
เป็นอินทรียสังวรศีล
(มีต่อ 2)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 12:22 am
อินทรียสังวรศีล
อานาปานสติขั้นที่ 1 คือ
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมลมหายใจออก-ลมหายใจเข้า
เป็นอินทรียสังวรศีล
เป็นการสำรวจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไม่ให้ยินดียินร้าย
พระพุทธองค์บอกว่า
การเจริญอานาปานสติ มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
แต่พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ไม่เคยลองปฏิบัติ
ตั้งแต่เกิดมาเราก็มองข้ามไป
ถึงแม้ว่า การฝึกเจริญอานาปานสติ จะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
พวกเราก็ไม่ค่อยสนใจ
บางคนก็คิดว่าเป็นเรื่องยาก บางคนก็คิดว่าเป็นเรื่องคร่ำครึ
ปล่อยให้คนอื่นเขาทำกันเถิด เราเป็นคนดีอยู่แล้ว
อันนี้เพราะเราไม่เข้าใจ
เพราะยังไม่ยอมลงมือปฏิบัติ
จริงๆ แล้วการปฏิบัติก็ไม่ยากมากมาย
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ... ก็เท่านั้น
และการปฏิบัติก็เป็นเรื่องของทุกคน
ถ้าเราไม่ลงมือปฏิบัติ เราก็ไม่เห็นคุณค่า
ไม่เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติ
เราปฏิเสธสิ่งดีๆ ในชีวิตอย่างน่าเสียดาย
มาปฏิบัติ เจริญศีล ภาวนากันเถิด
แล้วเราจะมีความสุขทุกคน มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์
เพราะผู้ปฏิบัติย่อมได้รับผลเอง ย่อมมีความสุข ย่อมอิ่มอกอิ่มใจ
ปฏิบัติเดี๋ยวนี้ ก็ได้ผลเดี๋ยวนี้
และเมื่อเราได้ปฏิบัติ เราจะเคารพรัก
และบูชาพระพุทธองค์ได้อย่างจริงใจ
และเราจะเรียกตัวเองว่าชาวพุทธได้อย่างเต็มภาคภูมิ
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ
(มีต่อ 3)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 12:31 am
เราไม่ต้องศึกษาอะไรมากมายก็ได้
พยามทำความรู้จักกับลมหายใจ
กำหนดลมหายใจบ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน
เกิดความสนิทสนม เกิดความพอใจ
มีฉันทะ ที่จะอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา
อย่างน้อยสุขภาพจิตของเราก็จะดีขึ้น
การระลึกรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
เป็นการทำให้ศีลบริสุทธิ์ที่จิต ที่เจตนาถูกต้อง
เป็นการเจริญสติ สัมปชัญญะและปัญญาด้วย
เป็นการพัฒนาจิตใจโดยตรง
จึงมีอานิสงส์มาก มีประโยชน์มาก
เราจึงควรพยายามศึกษา
และพยายามทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัย
เมื่อมีปัญหา ก็เอาลมหายใจเป็นสรณัง คัจฉามิได้
เมื่อเกิดปัญหาเป็นทุกข์ไม่สบายใจ
ก็รีบหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นที่พึ่งที่ระลึกของเรา
เมื่อเราสามารถระลึกรู้ ลมหายใจออก
ลมหายใจเข้าได้ โดยธรรมชาติ สบายๆ
ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน ตลอดวันตลอดคืน
ก็เป็นอินทรียสังวรศีล
หรือแม้ว่าไม่ตลอดวันก็ตาม แค่ 10 นาที 20 นาที
ถ้าเรานั่งสบายๆ กำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
ติดต่อกัน ต่อเนื่องกันโดยธรรมชาติ ด้วยความพอใจ
(มีต่อ 4)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 12:35 am
ช่วงนั้นจิตใจของเราก็สงบ
เป็นปกติ ป็นศีล เป็นอินทรียสังวร
สุขภาพใจก็ดี
ไม่ยินดียินร้าย ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
เมื่อมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ จิตใจก็ไม่หลง
จิตไม่คิดไปตามกิเลสตัณหา
จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้าย
มีหิริโอตตัปปะ
ละอายแก่ใจ กลัวบาป ไม่กล้าทำบาป ไม่กล้าทุกข์
ทุกข์เมื่อไร ก็บาปเมื่อนั้น
พยายามรักษาใจให้เป็นปกติเป็นกลางๆ
ให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างน้อย
ก็ก่อนนอนกับตอนเช้า
คล้ายๆ อาบน้ำ ตั้งใจอาบน้ำ
นอกนั้นตลอดวันก็ทำบ่อยๆ
คล้ายๆ กับการล้างมือ ล้างหน้า ทำบ่อยๆ
กลับมาหาลมหายใจบ่อยๆ มาหาที่พึ่งที่ระลึกของเราบ่อยๆ
แล้วเราจะมีสติ มีความสุขได้ในทุกสถานการณ์
(มีต่อ 5)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 12:42 am
ไม่ยินดียินร้าย
ไม่ยินดียินร้าย คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ในโลกธรรม 8 ที่มากระทบ
มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ
สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์
ชอบก็รู้ ไม่ชอบก็รู้ รู้แล้วปล่อย
สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ แล้วปล่อย
เห็นทุกอย่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เสมอ
ถ้าทุกคนเข้าใจอย่างนี้ได้
ครอบครัวก็จะอบอุ่น บ้านเมืองก็จะร่มเย็นเป็นสุข
ทุกคนก็จะสบาย และเป็นสุขได้ในทุกสถานการณ์
ใครทำอะไรไม่ดี ท่านก็ไม่ให้ยินร้าย
ให้รีบโอปนยิโก น้อมเข้ามาดูตัวเอง
เตือนใจตัวเองว่า เราอย่าทำอย่างนั้น
จริงๆ แล้ว เราก็ไม่ใช่คนสมบูรณ์
เราก็ทำให้คนอื่นไม่พอใจเหมือนกัน ไม่มากก็น้อย
พยายามรักษาความเป็นปกติ
รักษาความเป็นกลางๆ รักษาสุขภาพใจดีของเรา
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
พยายามปฏิบัติ เจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญอานาปานสติ
อยู่กับปัจจุบัน เป็นปัจจุบันธรรม
ไม่ยินดียินร้าย คือไม่ยึดมั่นถือมั่น
เห็นผู้หญิงสวย ชอบก็รู้ รู้แล้วก็ปล่อย
ไม่ยึดมั่น ถือมั่นว่าต้องเอามาเป็นของเราให้ได้
ลูกทำอะไรไม่ถูกใจ ก็ปล่อย อนิจจัง
แล้วเขาจะเปลี่ยนไปเอง เขาก็มีกรรมเป็นของเขา
เมื่อมีโอกาส เมื่อใจของเราดีแล้ว
ก็ค่อยแนะนำ สอนเขา
เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก
เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด แล้วก็ปล่อย
นี้คือ ไม่ยินดี ยินร้าย
(มีต่อ 6)
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 17 ส.ค. 2006, 12:49 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 12:46 am
ไม่ยินดียินร้าย
ไม่ใช่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ปฏิบัติหน้าที่
ตรงกันข้าม ไม่ยินดียินร้าย เป็นสุขภาพใจที่ดี
เมื่อเรามีสุขภาพใจดี เราก็สามารถทำหน้าที่องเราได้ดีที่สุด
เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดเสมอ
เป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นพี่น้องที่ดี เป็นลูกที่ดี
เป็นนายที่ดี เป็นลูกน้องที่ดี เป็นนักการเมืองที่ดี
ทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ เต็มความสามารถเสมอ
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยอิทธิบาท 4
เมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว
ผลจะเป็นอย่างไร ถูกใจหรือไม่ถูกใจ
ใครจะสรรเสริญ ใครจะนินทา ก็ปล่อย
ไม่ยึดมั่น ถือมั่นว่า ฉันทำดีแล้วคนต้องชม
ฉันทำดีแล้ว ฉันต้องได้ 2 ขั้น ฉันต้องได้เลื่อนตำแหน่ง
คนดี อยู่ที่ไหน ใครจะว่าอย่างไร ก็ดีอยู่เสมอ
และสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยความพอใจ
นี่คือไม่ยินดียินร้าย ไม่ยึดมั่นถือมั่น
เราค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ ฝึกปฏิบัติ
ตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาสุขภาพใจที่ดีของเราเอาไว้
ยินดียินร้ายเกิดขึ้น ก็รีบระงับ
มีหิริโอตตัปปะที่จิตใจ
เป็นศีล เป็นสมาธิ
เมื่อทำสำเร็จ จิตใจของเราก็เป็นมัชฌิมา
เป็นปกติ เป็นสุขภาพใจดี
และจะมีความสุขได้ในทุกสถานการณ์
(มีต่อ 7)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 12:57 am
หิริโอตตัปปะ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ถึงแม้อยู่คนเดียวก็ไม่กล้าทำผิด
เพราะกลัวบาป ละอายต่อบาป
รู้จัก ชอบดี ผิดถูก ควรไม่ควร บุญบาป
ไม่มีคำว่า ไม่มีใครเห็น เพราะตัวเราเห็นตลอด
จึงชอบที่จะละความชั่ว รักแต่จะทำความดี
คิดแต่สิ่งที่ดี ทำแต่สิ่งที่ดี พูดแต่สิ่งที่ดี
ไม่คิดร้าย ไม่คิดชั่ว ไม่คิดบาป
ไม่ทำในสิ่งที่ผิด สิ่งที่ก่อให้เกิดโทษทุกข์
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นอาหารที่มีคุณภาพ
เมื่อเราทุกข์ใจ ตกงาน น้ำท่วม ข้าวของเสียหายหมด ฯลฯ
เรามักจะมีความรู้สึกว่า เราเป็นคนโชคร้าย
เป็นคนที่น่าสงสารที่สุดในโลก
ทำไมคนอื่นไม่มีปัญหาอย่างเรา
จริงๆ แล้ว ใครๆ เกิดมาในโลกนี้
ต่างคนต่างทุกข์กันทั้งนั้น
ต่างคนต่างมีปัญหาทั้งนั้น
(มีต่อ 8)
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 17 ส.ค. 2006, 1:02 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:02 am
โลกธรรม 8
ฝ่ายน่าปรารถนา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
ฝ่ายไม่น่าปรารถนา เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
ล้วนแต่มีเหตุปัจจัยมาตั้งแต่อเนกชาติ
ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
เป็นกฎตายตัวแน่นอน
โลกธรรม 8 เป็นเพียงรสชาติ
อร่อย ไม่อร่อย
ถูกใจ ไม่ถูกใจ เท่านั้น
ไม่ต้องใส่ใจมากนัก
ขอให้พอใจในอาหารที่มีคุณภาพ
คือ คิดดี พูดดี ทำดี
บางครั้งอาหารดีอาจจะออกรสไม่อร่อยก็ทนเอา
คือเวลาที่เราประสบกับโลกธรรม 8 ฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนา
ก็ทนเอา ไม่เป็นไร
เอาคุณภาพ และ ประโยชน์ เป็นหลัก
คิดดี พูดดี ทำดี
รักษาใจให้ดีตลอดไป
(มีต่อ 9)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:06 am
รักษาใจของเราให้ดีไว้
แล้วเหตุการณ์ต่างๆ ก็จะค่อยๆ คลี่คลายไปเอง
เพราะทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
ถ้าเราทำดีอยู่เสมอ
คิดดี พูดดี ทำดี
รักษาศีล ภาวนาอยู่เป็นปกติ
อะไรจะเกิด ก็ไม่ต้องกังวลมากมาย
แล้วทุกอย่างก็จะผ่านไป เปลี่ยนไป
เหมือนลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ทำดีไปเรื่อยๆ
อนาคตจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ...แน่นอน
คนไม่มีทุกข์ไม่มีในโลก
ลองคิดดูก็ได้
สมมติถ้าเราเป็นสมาชิกครอบครัวของพระพุทธเจ้า
พระนางสิริมหามายา
ต้องตาย ตั้งแต่ยังมีลูกอ่อนอายุ 7 วัน...ทุกข์
เจ้าชายสิทธัตถะ
แม่เสียชีวิต ไม่เคยได้เห็นหน้าแม่เลย...ทุกข์
พระนางพิมพา พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ
พระสวามีทิ้งเรากับลูกที่พึ่งเกิด เข้าป่า ไปเป็นนักบวช ...ทุกข์
เราบกพร่องความเป็นภรรยาตรงไหน
อับอายญาติ พี่น้อง เพื่อน...ทุกข์
เจ้าชายราหุล พระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ
พ่อทิ้งลูกไปเมื่ออายุ 3-4 ขวบ เพื่อนๆ ล้อว่าไม่มีพ่อ...ทุกข์
พระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา
ลูกๆ ทั้งหลาย ไม่ดูแลรักษาราชสมบัติ เข้าป่า ทำไมๆ ๆ...ทุกข์
พระพุทธเจ้า
ราชวงศ์ศากยะ ถูกฆ่าหมด ญาติพี่น้องถูกฆ่าหมด
ผู้ฆ่าก็เป็นลูกศิษย์ของท่าน
ถ้าเป็นเราคงทุกข์มาก
แต่ท่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องของกรรม จึงปล่อยวางเสีย
ใครเกิดมาในโลก ในวัฏฏสงสาร
ต้องเป็นทุกข์แน่นอนทุกคน ทุกชีวิต
(มีต่อ 10)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:19 am
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลกนี้
สมัยพุทธกาล
อุบาสก อตุละ ชักชวนบริวารทั้ง 500
ไปฟังเทศน์ที่สำนักพระศาสดา
ตอนเช้า ได้ไปหาพระเรวตเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์
นิมนต์อาราธนาเทศน์ ท่านเงียบ
อุบาสกนินทาท่านว่า องค์นี้ไม่พูดเลย
อุบาสกจึงชักชวนบริวารทั้งหมดเดินทางต่อไป
พบพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอัครสาวก
เป็นผู้เลิศทางปัญญา เป็นผู้แตกฉานในการแสดงธรรม
พระสารีบุตรแสดงธรรมโดยพิสดาร
อธิบายหัวข้อธรรมอย่างละเอียด
อุบาสกอตุละ นินทาท่านว่า พระองค์นี้ พูดมากเกินไป
อุบาสกจึงชักชวนพรรคพวกเดินต่อไปอีก
ตกบ่ายได้พบพระอานนท์
พระอานนท์แสดงธรรมโดยย่อให้เข้าใจง่ายๆ
เมื่อฟังเทศน์จบ อุบาสกอตุละ ก็ว่า
พระองค์นี้เป็นอะไร พูดน้อย
ตอนเย็นก็ไปถึงที่พักของพระพุทธองค์
อุบาสกอตุละได้เล่าให้พระพุทธองค์ฟังเรื่องตั้งแต่เช้า
พระพุทธองค์ จึงตรัสว่า
อตุละเอย คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
แม้แต่พระพุทธเจ้าก็คงจะถูกอตุละนินทาว่า เทศน์ไม่เก่ง
ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ ทำงานมาก
มีความรับผิดชอบสูง
ก็ยิ่งถูกนินทามากเป็นธรรมดา
คนที่ไม่ถูกนินทา คือคนที่ไม่ทำอะไรเลย
เราทุกคนไม่ต้องการให้ใครนินทาเรา
แต่ก็เป็นไปไม่ได้
พระบรมศาสดาของเรา
เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด
ทรงมีพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
แต่ท่านก็ถูกนินทามากที่สุดก็ว่าได้
คนมีมิจฉาทิฏฐิ คนไม่ศรัทธาท่าน ก็นินทาท่าน
คนนินทาท่าน อาจจะมากกว่าคนสรรเสริญท่าน
(มีต่อ 11)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:24 am
แม้แต่ธรรมชาติ ลมฟ้าอากาศ
ก็ถูกมนุษย์นินทาประมาณ 90% หรือ
อาจจะถึง 99% ทีเดียว
วันนี้ร้อน วันนี้หนาว
ฝนตก ฝนไม่ตก
ลมแรง ไม่มีลม ฯลฯ
ธรรมชาติก็ถูกมนุษย์นินทามากมายถึงปานนี้
ได้รับคำชม คำสรรเสริญ นิดเดียว
สิ่งที่ไม่มีวิญญาณก็ยังถูกนินทาถึงขนาดนี้
แล้วมนุษย์เองจะถูกนินทาขนาดไหน
น่าเห็นใจมนุษย์
นักจิตวิทยาของอเมริกันค้นคว้า วิจัย ศึกษาว่า
คนเราเฉลี่ยแล้ว คนๆ หนึ่ง ในวันหนึ่งๆ
มีความรู้สึก ไม่พอใจ ไม่ถูกใจ
นึกเป็น วิภวตัณหาถึง 3 หมื่นครั้งต่อวัน
ครั้งหนึ่ง อาจจะนึกตำหนิ ออกมาเป็นคำพูด เป็นคำนินทา
วันหนึ่งๆ เรานึกตำหนิคนอื่นเท่าไร
และนินทาคนอื่นเท่าไร เราไม่รู้ตัว
แต่ถ้าเรา ได้ยินว่า มีใครนินทาเราสักประโยคเดียว
เราเจ็บใจ เกือบทำใจไม่ได้
เราลืมมองดูตัวเองว่า เราก็นินทาคนอื่นมากมาย
ใจเราไม่มีความยุติธรรมเท่าไร
ถ้าใจเราดี ใจมีธรรมะ
เราก็จะเห็นเรื่องนินทา สรรเสริญ
เป็นเรื่องธรรมดาในโลก
คนที่พูดถูกใจเรา ไม่ถูกใจเราก็เป็นเรื่องธรรมดา
นานาจิตตัง ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างรู้สึก
เราเองจะระวังสักแค่ไหน คนที่ไม่ชอบคำพูดของเราก็มีอยู่
เพื่อนของเรา พ่อแม่ของเรา จะพูดดีแค่ไหน
เราก็อาจจะไม่พอใจก็ได้
ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ เราก็จะมองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา
ไม่เอาจริงเอาจังกับคำพูดมากมายนัก
คอยแต่ระวังรักษาใจของเราให้ดี ให้เป็นปกติ
ไม่ยินดี ยินร้าย มีหิริโอตตัปปะตลอดกาล
ปกติใครจะนินทาเรา เราก็เจ็บใจ
อาฆาต พยาบาท ข้าภพ ข้ามชาติ
ปุถุชนก็เป็นอย่างนั้น
จิตใจของสัตว์ เมื่อเจ็บใจก็ผูกอาฆาต พยาบาท หลายปี
หลายสิบปี หรือข้ามภพ ข้ามชาติ
นั้นก็เป็นจิตของสัตว์
แต่เมื่อจิตใจเราเป็นศีล แล้วก็ไม่ใช่
ใครจะนินทา ใครจะด่าเรา
ถึงแม้ว่ายังมีกิเลสรู้สึกเจ็บใจเหมือนกัน
เป็นทุกข์ ไม่สบายใจเหมือนกัน
แต่เราก็มีปัญญาที่จะระงับมันได้ทัน
พยายามปล่อยวางเสียในเวลาไม่นาน
เมื่อกระทบอารมณ์ต่างๆ
ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
เราก็ไม่ต้องวุ่นวาย
ไม่ต้องคิดวิตกกังวลอะไรมากมาย
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
มีเจตนาที่จะปล่อยวาง
มีเจตนาที่จะระงับอารมณ์ต่างๆ
(มีต่อ 12)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:28 am
พอดี-ทางสายกลาง
เดือนแรก
จะโกรธ กำลังโกรธ สอนใจตัวเองว่า “ดีๆๆ”
เขาไม่เรียบร้อย ไม่ขยัน พูดไม่เพราะ
เขานินทาเรา ฯลฯ ก็คิดว่า “ดีๆๆ”
สอนใจตัวเองว่า...อย่ายินร้าย
เดือนที่สอง
เมื่อประสบกับสิ่งที่ควรยินดี ดีใจ
ก็สอนใจตัวเองว่า “พอๆๆ”...อย่ายินดี
เดือนที่สาม
จิตใจ ความรู้สึกของเราจะเข้าถึงทางสายกลาง พอดีๆๆ
ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
พอดี–ใจเย็น ใจดี ใจเมตตา ใจมีสันติสุข
ใจเป็นปกติ ใจเป็นศีล
ไม่ยินดี ยินร้าย
มีแต่ “ดี” และ “พอ”
พอดีๆๆ...
เป็นมัชฌิมาปฏิปทา
ขอให้มีความสุขในทุกสถานการณ์
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
(มีต่อ 13)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:32 am
เรื่องของนาคในพระพุทธศาสนา
ภูริทัตนาคราช
พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญศีลบารมี
พระพุทธเจ้าก่อนที่ตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย
ได้บำเพ็ญบารมีมาช้านาน
เรียกว่า พระโพธิสัตว์ หรือที่ว่า พระเจ้าห้าร้อยชาติ
บางชาติก็เป็นมนุษย์ บางชาติก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน
10ชาติสุดท้ายได้เสวยพระชาติเป็นพญานาคอยู่ 3 ชาติ
ภูริทัตนาคราชเป็นพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่งใน 10 ชาตินั้น
เป็นการบำเพ็ญศีลบารมีอย่างอุกฤษ
ที่เรียกว่า ปรมัตถบารมี
ในชาตินี้ภูริทัตเกิดเป็นพญานาค
เป็นลูกครึ่ง พ่อเป็นพญานาค แม่เป็นมนุษย์ คือนางสมุทชา
เป็นน้องสาวของพระเจ้าพาราณสี
ภูริทัตได้ขึ้นไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์
เห็นสมบัติพัสถานต่างๆ เกิดอยากได้
ก็เร่งรีบรักษาอุโบสถศีล เพื่อจักได้เป็นบุญกุศล
มีผลให้ได้ทรัพย์สมบัติต่อไป
ได้ตัดสินใจหนีขึ้นมาจำศีลอยู่ที่เมืองมนุษย์
ต่อมามีหมองูนายหนึ่ง ได้เห็นภูริทัตในสภาพของพญานาค
มีลำตัวขาวราวกับสำลี มีหงอนสีแดง ก็ชอบใจ
ฉุดลากภูริทัตพาไปแสดงให้คนดู ยังความอับอาย
ความเจ็บปวดให้แก่ภูริทัตอย่างมาก
แต่โดยที่ได้อธิษฐานสละเลือดเนื้อร่างกายเป็นทานแล้ว
ภูริทัตจึงอดทน ปล่อยให้หมองูทำกับตนไปต่างๆ นานา
นางสมุทชาผู้เป็นแม่ เห็นภูริทัตหายไปนาน
ก็ให้สุทัศน์ลูกชายคนโตไปตามน้อง โดยมีนางอัจจะมุขี
น้องสาวคนเล็กแปลงตัวเป็นเขียดตามไปด้วย
สุทัศน์ปลอมตัวเป็นดาบส
สุทัศน์ตามไปจนพบน้องชาย ซึ่งขณะนั้นหมองู
กำลังจัดการแสดงอยู่ ภูริทัตเห็นสุทัศน์ดาบสก็จำได้
เลื้อยเข้าไปซบที่เท้า ร้องไห้ แล้วเลื้อยกลับ
หมองูเข้ามาถามสุทัศน์ดาบสว่า ถูกขบกัดหรือเปล่า
สุทัศน์ดาบสตอบว่า “ไม่ได้ทำร้ายอะไรหรอก
ถึงจะทำร้ายก็ไม่เป็นไร เพราะเราเป็นหมองูที่ยิ่งใหญ่
ไม่มีใครสู้ได้” หมองูได้ฟังดังนั้นก็โกรธมาก
จึงท้าพนันกัน โดยสุทัศน์จะเอาเขียดสู้กับนาค
ในที่สุด พิษของเขียดได้ทำให้ผิวหนังของหมองูลอก
กลายเป็นขี้เรื้อนขาวไปทั้งตัว หมองูตกใจกลัวมาก
ยอมปล่อยภูริทัตนาคราช และไม่ขอสู้ต่อไป
(มีต่อ 14)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:35 am
จัมเปยนาคราช
เชื่อกันว่า นาคมีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตวนเวียนใกล้ชิดคน
นาคสามารถแปลงตัวได้ เป็นคนก็ได้
เป็นอะไรก็ได้ตามประสงค์
มีเรื่องราวของนาคสมสู่กับมนุษย์เล่าขานมามากมาย
เล่ากันว่าเมืองของพญานาคอุดมด้วยทรัพย์สมบัติ
เพชรนิลจินดามากมาย ล้วนสวยงามมาก
ครั้งหนึ่งพระบรมโพธิสัตว์ได้อุบัติขึ้นในสกุลคนเข็ญใจ
ได้เห็นสมบัติของจัมเปยนาคราช เกิดความละโมภอยากได้
ก็เพียรรักษาศีลภาวนา ให้ทานเป็นประจำ
เมื่อท้าวจัมเปยพญานาคราชสิ้นชีวิต
พระโพธิสัตว์ก็จุติไปเกิดเป็นจัมเปยนาคราช
แต่แทนที่ท่านจะเกิดความปราโมทย์ พอใจ
กลับบังเกิดความละอาย รำพึงว่า
“อิสสริยยศในฉกามาพจรสวรรค์ ก็เหมือนกับ
ข้าวเปลือกที่เขาโกยมาไว้ในยุ้งฉาง ได้ปรากฏแก่เรา
ก็ด้วยอำนาจของกุศลผลบุญที่เราได้ทำแล้ว
แต่เราจะต้องการอะไรกับการเป็นเดรัจฉานเช่นนี้
เราจะอยู่ในอุโบสถกรรม คือรักษาศีล
เมื่อพ้นจากพิภพนี้ไปแล้ว เราจะได้เกิดเป็นมนุษย์
ตรัสรู้ธรรม ขจัดทุกข์ให้หมดไป”
แล้วจำเปยนาคราชก็หนีขึ้นไปถืออุโบสถศีล
ในโลกมนุษย์เป็นเวลาช้านาน
ต่อมา พรานหมองูนายหนึ่งมาพบเห็นเข้า
ก็จับเอาพญานาคราชมาทรมานต่างๆ นานา
ท่านก็ไม่ต่อสู้ อดทน อดกลั้น
ยอมเจ็บปวดทรมาน ทั้งอับอาย
เป็นการรักษาศีลด้วยชีวิต ดังปณิธานที่ท่านได้ตั้งไว้
ท่านอยู่ในสภาพเช่นนั้นจนกระทั่ง
นางสุมนามเหสีติดตามไปช่วยเหลือ
จึงได้เป็นอิสระ กลับไปยังนาคพิภพตามเดิม
(มีต่อ 15)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:38 am
นาคอยากเกิดเป็นมนุษย์
มีนาคตนหนึ่ง เบื่อหน่ายกับการที่กำเนิดเป็นนาค
อยากกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ จึงแปลงกายเป็นชายหนุ่ม
ไปขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระพุทธองค์
วันหนึ่งเมื่อพระนาคเผลอสติ นอนหลับไป
พระนาคก็หลายเป็นงูดังเดิม
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบว่านาคแปลงกายมาบวชอยู่
จึงได้สั่งให้พระนาคสึกไปเสีย เพราะนาคนั้นเป็นเดรัจฉาน
จะเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยไม่ได้
พระนาคเสียใจมาก แต่ก็ต้องกราบลาไป
พระพุทธองค์ได้สั่งให้นาครักษาศีล 8 ในวันพระ
แล้วก็จะได้เกิดเป็นมนุษย์ต่อไป
และพระพุทธองค์ก็ได้ทรงบัญญัติพระวินัยว่า
ห้ามอมนุษย์หรือเดรัจฉานเข้ามา
บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุในพุทธศาสนา
การขานนาคที่จะบวชเป็นพระภิกษุในทุกวันนี้
ก็ยังมีคำถามว่า “มนุสโสสิ” แปลว่า
“ท่านเป็นมนุษย์หรือ”
ก็เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่พวกอมนุษย์
แปลงตัวมาบวชนั่นเอง
(มีต่อ 16)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2006, 1:42 am
พญากาลภุชคินทร์นาคราช
เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอายุยืนมาก
กล่าวกันว่า พญากาลภุชคินทร์นอนหลับนานมาก
เป็นการนอนคอยพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสรู้องค์หนึ่งจึงจะตื่นขึ้นครั้งหนึ่ง
พญากาลภุชคินทร์ จึงเป็นพญานาคที่ อายุยืนมาก
คือมีอายุมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้ากกุสันธะ
จนถึงสมณะโคตมะ และจะมีอายุยืนต่อไป
จนถึงพระศรีอาริยเมตตรัย
พญามุจลินนาคราช
ผู้คุ้มครองพระบวรพุทธศาสนา
ตามพุทธประวัติ เล่าว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว
และเสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้จิก
ฝนตกตลอดเวลา 7 วัน
พญามุจลินทนาคราชทำขนด 7 ชั้น ล้อมพระพุทธเจ้าไว้
แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคุมเบื้องพระเศียร
เพื่อไม่ให้ฝนและลมหนาว สาดต้องพระวรกาย
นาคทั้งหลายรักพระพุทธศาสนา
ศรัทธาเปี่ยมล้นในพระพุทธองค์
ตั้งใจปฏิบัติรักษาศีล ภาวนา
เพื่อให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์ และความเป็นมนุษย์
มนุษย์เท่านั้นที่จะมีโอกาส
ประพฤติธรรม จนพ้นทุกข์ได้
ฤทธิ์เดช และทรัพย์ศฤงคารของนาค
และเทวดานั้น ล้วนเป็นอนิจจัง
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีอยู่แล้วก็หายไป เป็นทุกข์ทั้งนั้น
โอกาสที่จะเจริญธรรม เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส
ทั้งปวงไม่มีในหมู่เทวดาและพญานาค
นาคยังรักศีล รักษาศีล
รักพระพุทธศาสนา รักพระพุทธองค์
แล้วเราล่ะ ได้เกิดเป็นมนุษย์
พบพระพุทธศาสนาแล้ว
จะยอมปล่อยให้เสียโอกาสไปเปล่าๆ หรือ
มาเร่งรักษาศีล ปฏิบัติภาวนากันเถิด
ขอให้เจริญด้วยโภคทรัพย์ และมนุษย์สมบัติ
และมีความสุขในทุกสถานการณ์
>>>>> เอวัง >>>>>
ปีมะโรง ขอจงมีความสุข
อ้างอิง :
เรื่องเกี่ยวกับพญานาคในหนังสือเล่มนี้
ส่วนมากได้มาจากหนังสือ “พญานาค”
ของ ส.พลายน้อยซึ่งได้รับกรุณาให้ใช้อ้างอิงได้
ผู้เรียบเรียง :
คุณสิริลักษณ์ รัตนากร และคณะ
สัญญลักษณ์ :
คือ นาคจำศีล และ คนรักษาศีล ปฏิบัติธรรม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น